รหัสพรรณไม้ 7-30340-002-037 |
|||||
![]() |
|||||
ชื่อพื้นเมือง | กล้วยน้ำว้า | ||||
ชื่อวิทยาศาสตร์ | Musa sapientum L. | ||||
ชื่อวงศ์ | MUSACEAE | ||||
ลักษณะวิสัย | ไม้ล้มลุก | ||||
ลักษณะเด่นของพืช | ใบเป็นแผ่นยาวเส้นใบขนานกัน ดอกเป็นช่อเรียกหัวปลี ผลเป็นหวีติดต่อกันเป็นเครือ | ||||
บริเวณที่พบในโรงเรียน | หน้าห้องผู้อำนวยการโรงเรียน | ||||
คลิกขยาย
|
ลำต้น |
ใบ |
ดอก |
ผล |
อื่น ๆ |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
เลื่อนเมาส์อยู่เหนือภาพเพื่อดูภาพขยาย ชี้อีกครั้งเพื่อกลับสู่ภาพเดิม |
||||
รายละเอียดอื่น ๆ เพิ่มเติม | กล้วยน้ำว้า (ชื่อวิทยาศาสตร์: Musa sapientum Linn.) เป็นกล้วยพันธุ์หนึ่ง พัฒนามาจากลูกผสมระหว่างกล้วยป่ากับกล้วยตานี บริโภคกันอย่างแพร่หลาย ปลูกง่าย รสชาติดี อร่อยด้วย กล้วยน้ำว้ามีชื่อพื้นเมืองอื่นเช่น กล้วยน้ำว้าเหลือง กล้วยใต้ หรือ กล้วยอ่อง กล้วยน้ำว้าเมื่อเทียบกับกล้วยหอมและกล้วยไข่ กล้วยน้ำว้าจะให้พลังงานมากที่สุด กล้วยน้ำว้าห่ามและสุกมีธาตุเหล็กในปริมาณสูง ช่วยสร้างเม็ดเลือดแดง ป้องกันโรคโลหิตจาง มีแคลเซียม ฟอสฟอรัส และวิตามินซีช่วยบำรุงกระดูก ฟัน และเหงือกให้แข็งแรง ช่วยให้ผิวพรรณดี มีเบต้าแคโรทีน ไนอาซีนและใยอาหาร ช่วยให้ระบบขับถ่ายคล่องขึ้น กินกล้วยน้ำว้าสุก จะช่วยระบายท้องและสามารถรักษาโรคเลือดออกตามไรฟันในเด็กเล็กได้ ช่วยลดอาการเจ็บคอ เจ็บหน้าอกที่มีอาการไอแห้งร่วมด้วย โดยกินวันละ ๔-๖ ลูก แบ่งกินกี่ครั้ง ก็ได้ กินกล้วยก่อนแปรงฟันทุกวันจะทำให้ไม่มีกลิ่นปาก และผิวพรรณดี เห็นผลได้ใน ๑ สัปดาห์ กล้วยน้ำว้าดิบและห่ามมีสารแทนนิน เพคตินมีฤทธิ์ฝาดสมาน รักษา อาการท้องเสียที่ไม่รุนแรงได้ โดยกินครั้งละครึ่งผล หรือ ๑ ผล อาการท้องเสียจะทุเลาลง นอกจากนี้จากการศึกษาวิจัยยังพบว่า มีผลในการรักษาโรคกระเพาะได้อีกด้วย
ข้อมูลจาก : http://th.wikipedia.org/wiki/กล้วยน้ำว้า |