รหัสพรรณไม้ 7-30340-002-013

 
  ชื่อพื้นเมือง อินทนิลน้ำ,อินทนิล,ตะแบกดำ
  ชื่อวิทยาศาสตร์ Lagerstroemia speciosa ( L. ) Pers.
  ชื่อวงศ์ LYTHRACEAE
  ลักษณะวิสัย ไม้ต้น
  ลักษณะเด่นของพืช ใบเดี่ยวเรียงตรงข้าม ดอกช่อสีม่วงปนชมพูใหญ่กว่าดอกตะแบก ผลรูปไข่เกือบกลม เมื่อแก่จะแห้งเป็นสีน้ำตาลและแตกตามยาวเป็น 6 พู
  บริเวณที่พบในโรงเรียน หน้าสวนพฤกษศาสตร์
   
คลิกขยาย
ดับเบิลคลิกกลับสู่สภาพเดิม
         
ลำต้น
ใบ
ดอก
ผล
อื่น ๆ
         
เลื่อนเมาส์อยู่เหนือภาพเพื่อดูภาพขยาย ชี้อีกครั้งเพื่อกลับสู่ภาพเดิม
รายละเอียดอื่น ๆ เพิ่มเติม

อินทนิลน้ำ เป็นไม้ยืนต้น เป็นพรรณไม้ที่พบขึ้นทั่วไปตามที่ราบลุ่มและบริเวณริมฝั่งแม่น้ำ ลำห้วย ในป่าเบญจพรรณชื้นและป่าดงดิบทั่วทุกภาค จะพบมากในป่าดงดิบภาคใต้ มีดอกสีม่วง สวยงาม มีชื่อในแต่ละท้องถิ่นต่างๆ กัน เช่น ตะแบกอินเดีย ฉ่องมู ซอง (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี) บาเอ (ปัตตานี) บางอบะซา (ยะลา นราธิวาส มาเลเซีย) อินทนิล (ภาคกลาง ภาคใต้) ตะแบกดำ (กรุงเทพฯ)(ในภาษาอังกฤษเรียก Pride of India หรือ Queen's flower) อินทนิลน้ำเป็นพรรณไม้ประจำจังหวัดสกลนคร และจังหวัดระนอง (เรียกว่า "อินทนิล")

informationข้อมูลจาก : http://th.wikipedia.org/wiki/อินทนิน้ำ
guestbookลงชื่อ ติชม ในสมุดเยี่ยมชม